รู้เขา รู้เรา รู้โลก รู้โศก รู้สุข ไม่สิ้นหวัง เพราะอ่านได้อ่านดีมีพลัง ห้องสมุดคือขุมคลังของชีวิต สุจิตต์ วงษ์เทศ
 
รายการหลัก
 
 
MENU LINK :
 
 
 
จำนวนผู้เยี่ยมชม
Website Hit Counter

 

 

 

 

พนมสารคาม เป็นคำผูกขึ้นใหม่สมัยรัชกาลที่ 4 จากชื่อเดิม ดงยาง (มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา) แรกผูกเป็นชื่อเจ้าเมืองดงยางว่า พนมสารนรินทร์ ต่อมาเรียกเมืองดงยางตามเจ้าเมืองว่า พนมสารคาม

พนมสารคาม เป็นชื่ออำเภอตั้งอยู่บ้านท่าเกวียน ริมลำน้ำท่าลาด จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้จากนามเจ้าเมืองว่าพระพนมสารนรินทร์

ชื่อพนมสารนรินทร์ เป็นคำบาลี 3 คำ คือ พนม, สาร, นรินทร์

พนม หมายถึง ป่า, ดง, ป่าไม้, ดงไม้ ฯลฯ มีรากคำจากบาลีว่า วน (อ่านว่า วะ-นะ)

สาร หมายถึง สำคัญ, ประเสริฐยิ่ง, แข็งแรง, แก่นของไม้ชั้นในสุด และส่วนแข็งที่สุด

คาม หมายถึง หมู่บ้าน, ชุมชน

นรินทร์ หมายถึง คนผู้มีอำนาจ ได้จากคำบาลีว่า นร (อ่านว่า นะ-ระ) กับ อินทร (อ่านว่า อิน-ทะ-ระ)

มีข้อสังกตจากชื่อ พนมสารคาม ว่าแต่เดิมน่าจะให้สะกดว่า พนมสาลคาม เพราะคำบาลี สาล (อ่านว่า สา-ละ) หมายถึง ต้นรัง หรือต้นยางก็ได้ (แต่นิ้ยมเรียกทับศัพท์ว่าต้นสาละ) สอดคล้องกับภูมิประเทศบริเวณลำน้ำท่าลาดเต็มไปด้วยต้นยาง มีชื่อ เขาดงยาง เป็นพยาน แล้วได้น้ำมันยางจากต้นยางเป็นสินค้า ขณะเดียวกันก็เอาต้นยางมาเผาสุมเป็นถ่านได้อีก ตรงตามที่ตั้งเมืองครั้งแรกว่าท่าถ่าน

พนมสารคาม หรือพนมศาลคาม