รู้เขา รู้เรา รู้โลก รู้โศก รู้สุข ไม่สิ้นหวัง เพราะอ่านได้อ่านดีมีพลัง ห้องสมุดคือขุมคลังของชีวิต สุจิตต์ วงษ์เทศ
 
รายการหลัก
 
 
MENU LINK :
 
 
 
จำนวนผู้เยี่ยมชม
Website Hit Counter

 

 

 

คำขวัญประจำอำเภอ

"คลองท่าลาดทิวทัศน์น่ายล
ถนนพระรถเสน
อาชีพเด่นเกษตรกรรม
วัฒนธรรมไทยพวน
สวนพฤกษศาสตร์ล้ำค่า
ศูนย์ศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อน"

เิดิมอำเภอพนมสารคาม ยังไม่มีชื่อพนมสารคามและยังไม่เป็นอำเภอ แต่เป็นเพียงชุมชน หมู่บ้าน ตั้งอยู่ที่บ้านโพธิ์ใหญ่

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพไปตีลาวและเขมรได้กวาดต้อนชาวลาวและเขมรเข้ามาเป็นจำนวนมาก และกำหนดพื้นที่ให้อยู่เป็นหลักแหล่งในเขตอำเภอพนมสารคามและอำเภอสนามชัยเขต เหตุนี้เองชุมชนดังกล่าวจึงหนาแน่นขึ้นเป็นลำดับ

ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราโชบายยกหมู่บ้านที่มีชุมชนหนาแน่นขึ้นเป็นเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ "ยกบ้านท่าถ่านเป็นเมืองพนมสารคาม" มีศาลากลางเมือง มีเรือนจำ มีเจ้าเมืองปกครอง พระพนมสารนรินทร์ เป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะยุบเปฝ้นอำเภอพนมสารคาม

บริเวณที่ตั้งเมืองพนมสารคาม ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลเมืองเก่า

เมืองพนมสารคาม ลดฐานะจากเมืองเป็นอำเภอ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2472

พ.ศ.2481 สมัยนายชวน สุริยจันทร์ เป็นนายอำเภอ ได้ย้ายที่ทำการมาตั้งที่บ้านท่าเกวียน หมู่ที่ 1 ฝั้งซ้ายคลองท่าลาด ตำบลพนมสารคาม

พ.ศ.2509 กระทรวงมหาดไทย ได้มีประกาศตั้งตำบลคู้ยายหมี ตำบลท่ากระดาน และตำบลท่าตะเกียบ แยกออกจากอำเภอพนมสารคาม เป็นกิ่งอำเภอพนมสารคาม

พ.ศ.2520 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศตั้งตำบลดงน้อย ตำบลเมืองใหม่ และตำบลบางคา ออกจากอำเภอพนมสารคาม เป็นกิ่งอำเภอราชสาส์น

พื้นที่อำเภอพนมสารคาม เคยปกคลุมไปด้วยป่าใหญ่ มีบริษัทได้สัมปทานทำป่าคลองท่าลาด ซึ่งเดิมเรียกแม่น้ำพนมฯ ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมล่องแพซุง ที่ได้จากป่าใหญ่ทั้งของเขตพนมสารคามและสนามชัยเขต ของป่าและไม่มีค่าเป็นสินค้าออกที่สำคัญ น้ำมันยางเป็นสินค้าสำคัญล่าสุด ตามด้วยไม้แดงจีน ไม้หอม และเร่ว.

หลังสงคามโลกครั้งที่ 2 จนถึงประมาณ พ.ศ.2498 บริเวณนี้ก็ยังเป็นดินแดนที่สร้างความหวาดกลัวเรื่องความไข้และยาเบื่อ เพราะเป็นป่าดงดิบ ปัจจุบันป่าดังกล่าวถูกแผ้วถางไปจนหมด ลักษณะดังกล่าว ทุกวันนี้จึงมีสภาพเป็นเพียงที่ราบสูง ประชากรมีอาชีพในการเพาะปลูกพืชไร่ ทำน่าและทำสวน

อำเภอพนมสารคาม มีเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี

ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสนามชัยเขต

ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอราชสาส์น

ปัจจุบันอำเภอพนมสารคาม ประกอบด้วย 8 ตำบล คือ ตำบลพนมสารคาม ท่าถ่าน บ้านซ่อง หนองยาว เมืองเก่า เกาะขนุน หนองแหน และเขาหินซ้อน แบ่งเป็น 85 หมู่บ้าน 3 เทศบาล 8 อบต.

การเดินทาง การเดินทางเข้าสู่อำเภอพนมสารคาม มีถนนสายหลัก ดังนี้
-สาย 304 (ฉะเชิงเทรา - กบินทร์บุรี) จากฉะเชิงเทรา ถึงพนมสารคาม ระยะทาง 31 กิโลเมตร
-สาย 319 (พนมสารคาม - ปราจีนบุรี) จากปราจีนบุรี ถึงพนมสารคาม ระยะทาง 34 กิโลเมตร
-สายพนมสารคาม - บางคล้า หรือถนนฤทธิประศาสน์ ระยะทาง 17 กิโลเมตร
-สาย 3347 (พนมสารคาม - บ้านสร้าง) จากปราจีนบุรี ถึงบ้านสร้างระยะทาง 34 กิโลเมตร
-สาย3245 (พนมสารคาม - สนามชัยเขต - ท่าตะเกียบ)จากพนมสารคามถึงสนามชัยเขต ถึงท่าตะเกีัยบ ระยะทาง 16 กิโลเมตร และ 46 กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางผ่านไปจนถึงอำเภอคลองหาดและอำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
และรถโดยสารประจำทางที่ผ่านอำเภอพนมสารคาม คือ พนมสารคาม - ฉะเชิงเทรา,กรุงเทพ -พนมสารคาม,ปราจีนบุรี - ฉะเชิงเทรา, พัทยา - แม่สาย, ระยอง - นครราชสีมา และอรัญประเทศ - ฉะเชิงเทรา

 

อำเภอพนมสารคาม