รู้เขา รู้เรา รู้โลก รู้โศก รู้สุข ไม่สิ้นหวัง เพราะอ่านได้อ่านดีมีพลัง ห้องสมุดคือขุมคลังของชีวิต สุจิตต์ วงษ์เทศ
 
รายการหลัก
 
 
MENU LINK :
 
 
 
จำนวนผู้เยี่ยมชม
Website Hit Counter

 

 

 

ตราตั้งพระพนมสารณรินทร์เป็นเจ้าเมืองพนมสารคาม

เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหนายก  อัครมหาเสนาธิบดอภัยพิริยบรากรมพาหุ  พระเกรียงไกรกระบวนยุทพระกำพุชภักดีปลัด หลวงบริยฟิทักษ์ยกกระบัตร หลวงวิสูทจีนศ(ท)ติจางวางจีนใหญ่กรมการเมืองฉะเชิงเทราได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตั้งหลวงธรนินทร์ภักดีเป็นพระพนมสารณรินทร์เจ้าเมืองพนมส(ษ)ารคาม และหากกรมการที่ใดยังมีตำแหน่งว่างอยู่นั้นก็ให้ท่านเจ้าพระยาภูธราภัย ที่สมุหนายก เป็นผู้เลือกสรรบุคคลมาดำรงตำแหน่งที่ว่างให้ครบ เพื่อที่จะได้ทำงานกันสะดวกมากขึ้น ืื

นอกจากนี้เจ้าพระยาภูธราภัย,ที่สมุหนายกยังได้กราบบังคมทูลพระกรูณาว่ามีข้าราชการชื่อขุนนามสระประเสริฐซึ่งเป็นผู้ช่วยของท้าววันเทศโดยได้เคยทำงานกับพระยาวิเสศฤาไชยมาก่อนและยังเป็นคนพนมสารคามมาก่อนที่จะมาเป็นผู้ช่วยท้าววันเทศดังนั้นจึงขอรับพระราชทานให้ขุนนางสระประเสริฐดำรงตำแหน่งเป็นปลัด ให้ท้าววันเทศเป็นผู้ช่วย

ต่อมาจึงมีพระบรมราชโองการดำรัสให้แต่งตั้งขุนงามสระประเสริฐเป็นหลวงธรนินทร์ภักดีปลัด ท้าววันเทศให้ดำรงตำแหน่งเป็นหลวงงามสระประเสริฐผู้ช่วยราชการ อีกทั้งขุนนางสระประเสริฐที่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหลวงธรนินทร์ภักดียังได้รับพระราชทานเสื้อเข็มขาบก้านแย่ง 1 ตัว,แพรศรีคิดขลิบ 1 ผืน,ผ้าส่านวิลาศ 1 ผืน,แแพรขาว 1 ผืน,ผ้าม่วงจีน 1 ผืน ส่วนท้าววันเทศที่ได้รับตำแหน่งเป็นหลวงงามสระประเสริฐผู้ช่วยราชการได้รับพระราชทาน เสื้อเข็มขาบดอกกระจาย 1 ตัว,ผ้าส่านวิลาศ 1 ผืน,ผ้าแพรขาวห่ม 1 ผืน,ผ้าไหมนุ่ง 1 ผืน เอาไว้เพื่อเป็นเครื่องแสดงเกียรติยส

ส่วนระบบการว่าราชการบ้านเมืองนั้น ให้หลวงธรนินทร?ภักดีปลัดและหลวงงามสระประเสริฐผู้ช่วย อยู่ใต้บังคับบัญชาของพระยาวิเสศฤาไชย พระเกรียงไกรกระบวนยุท พระกำพุภักดีปลัด หลวงบริยพิทักษ์ยกกระบัตรกรมการผู้ใหญ่เมืองฉะเชิงเทรา พระพนมสารณรินทร์เจ้าเมืองพนม (มหา)สารคามส่วนกรรมการผู้น้อยของเมืองพนม(มหา)สารคาม ให้ฟังคำบังคับบัญชาของหลวงธรนินทร์ภักดีปลัดกับหลวงงามสระประเสริฐผู้ช่วย

ถ้าหากราษฎรจะมาฟ้องคดีความทั้งคดีแพ่งและอาญา ให้พระพนมสารณรินทร์เป็นหัวหน้า และให้หลวงงามสระประเสริฐผู้ช่วยเป็นผู้พิจารณาความให้เป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมายอย่าได้ช้า ถ้าคดีความนั้นตกลงกันไม่ได้ก็ให้ส่งตัวโจทก์และจำเลยไปให้กรรมการเมืองฉะเชิงเทราชำระความต่อ

ให้หลวงธรนินทร์ภักดีปลัดกับหลวงงามสระประเสริฐช่วยบริหารบ้านเมืองให้ราษฎรมีอาชีพทำมาหากินสำหรับพวกจีนที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอยู่แล้วนั้น ก็ให้ทำตามพระราชกติกาซึ่งได้ตีพิมพ์แจกประกาศออกไปแล้วนอกจากนี้ยังให้ช่วยกันดูแลอย่าให้ราษฎรซื้อขายหรือสูบฝิ่น และเป็นโจรผู้ร้ายหรือกระทำผิดพระราชกำหนดกฎหมาย

ประการหนึ่ง เมื่อถึงเทศกาลพระราชพิธีตรุษสารท ก็ให้หลวงธรนินทร์ภักดีปลัด หลวงงามสระประเสริฐช่วยราชการ ไปพร้อมกับพระยาวิเสศฤาไชยกรมการ ณ พระอุโบสถ เฉพาะพระพักตร์ แล้วการบถวายบังคมพระบรมสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร และให้กระทำพิธีสัตยานุสัจรับพระราชชทานน้ำพระพิพัฒน์สัจจาปีละ 2 ครั้ง ตามธรรมเนียมทุกปี

ถ้าหากท้องตรานี้มาถึงเมื่อใด ให้มอบตราจำนำเลขให้หลวงธรนินทร์ภักดีปลัด หลวงงามสระประเสริฐช่วยราชการรับราชการตามตำแหน่งสืบไป

มา ณ วันพฤหัสบดี(5) แรม 1 คำ่ (1) เดือนกรกฎาคม(8)ปีมะเส็งเอกศก ศักราช 1231

เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษสมุหนายก อัครมหาเสนาธิบดีอภัยพิริยบรากรมพาหุ พระเกรียงไกรกระบวนยุท พระกำพุชภักดีปลัด หลวงบริยพิทักษ์ยกระบัตร หลวงวิสูทจีนศ(ท)ติจางวางจีนใหญ่ กรมการเมืองฉะเชิงเทรา ได้มีการแจ้งเข้าไปว่า พระยาวิเสศฤาไชยเป็นคนเสียสติ ไม่สามารถว่าราชการบ้านเมืองได้โดยเรื่องนี้ได้นำขึ้นกราบบังคมทูลแก่พระบรมสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ผู้สำเร็จราชการบ้านเมืองจะมีสติฟั่นเฟือนไม่ได้ จึงสั่งให้นำตัวพระยาวิเสศฤาไชยเดินทางเข้ามาที่กรุงเทพมหานคร

ส่วนตำแหน่งที่ว่างลงนั้น ได้ทรงปรึกษากับท่านพระยาภูธราภัย ว่าจะมีผู้ใดเหมาะสมขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองบ้าง ท่านเจ้าพระยาภูธราภัยจึงได้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า มีพระกำพุชภักดีปลัดเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเคยดำรงเป็นพระพนมสารณรินทร์เจ้าเมืองพนมสารคาม ได้รับราชการสนอง(ฉลอง)พระเดชพระคุณมาเป็นเวลานานแล้ว รู้จักธรรมเนียมบ้านเมืองดี เป็นที่รักใคร่ของกรมการและราษฎรทั้งไทย จีน ลาว เขมร อีกทั้งเมื่อครั้งที่พระยายมราชเดินทางไปราชการที่เมืองเขมร พระกำพุชภักดีปลัดเมืองฉะเชิงเทรา(ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระพนมสารณรินทร์)ก็ได้เดินทางติดตามไปด้วย ดังนั้นจึงขอรับพระราชทานให้พระกำพุชภักดีปลัดเป็นเจ้าเมืองฉะเชิงเทราคนใหม่

พระบรมสมเด็จพระปรมิทรมหาจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเห็นชอบให้พระกำพุชภักดีปลัดเป็นเจ้าเมืองฉะเชิงเทราคนใหม่ แล้วพระราชทานนามสัญญาบัตร ตั้งเป็นพระยาวิเสศฤาไชย ถือศักดินา 3,000พร้อมกับทรัพย์สินของพระยาวิเสศฤาไชยคนเก่า ได้แก่ ถาดหมางทอง คนโททอง 1 สำรับ,ปะคำทอง 108 เม็ด,สาย 1 เส้น กระบี่บั้งทอง 5 บั้ง จำนวน 1 เล่ม,เสื้อหมวกตุ้มบี่สำรับ 1,สัปทนปัศดูดัน 1 ส่วนทรัพย์สินที่พระราชทานให้ใหม่ในครั้งนี้ คือ เสื้อเข็มขาบริ้วดีตัว 1 ตัว,แพรศรีติขลิบ 1 ผืน,ผ้ากำมหลิดห่มนอน 1 ผืน,ผ้าแพรขาวเพลาะ 1 ผืน,ปูมเขมรผืน 1 ผืน ไว้เป็นเครื่องแสดงยศฐาบรรดาศักดิ์ออกว่าราชการบ้านเมือง

เมื่อได้รับตำแหน่งเป็นพระยาวิเสศฤาไชยแล้ว ให้พระเกรียงไกรกระบวนยุท พระกำพุชภักดีปลัด หลวงบริยพิทักษ์ยกกระบัตร หลวงวิสูทจีนศ(ท)ติจางวางจีนใหญ่ เจ้าเมืองกรมการเมืองฉะเชิงเทรา ให้ขึ้นฟังคำบังคับบัญชาของพระยาวิเสศฤาไชย อย่าได้มีเรื่องบาดหมางกันจนเสียระบบราชการ โดยเฉพาะพระยาวิเสศฤาไชยนั้น ให้ปะพฤติตัวเป็นผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี คอยทำนุบำรุงพระศาสนา ดูแลความเป็นอยู่ของราษฎรให้มีอาชีพทำมาหากินอยู่เย็นเป็นสุข อย่าได้เบียดเบียนข่มเหงราษฎรให้เดือดร้อน

ในเรื่องเลขลูกหมู่ ของคนไทย ลาว เขมร ที่ถูกละเลยไปเมื่อนั้น ให้พระยาวิเสศฤาไชย พระเกรียงไกรกระบวนยุท พระกำพุชภักดีปลัด หลวงบริยพิทักษ์ยกกระบัตร ให้ปรึกาาหาวิธีแก้ไข จัดการรวบรวมและจัดเลขให้เป็นหมวดเป็นกอง ส่วนใครยังไม่ได้ศักทั้งคนไทย ลาว เขมร ก็ให้ส่งตัวเข้ามศักัที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด นอกจากนี้ให้ช่วยหาวิธีเกลี้ยกล่อมชักชวนให้คนจีน ญวณ เข้ามาตั้งบ้านเรือน ทำไร่ทำนา ตั้งโรงหีบอ้อย เพื่อทำน้ำตาลทรายขาย บ้านเมืองจะได้มั่คั่งรำ่รวย แต่ถึงกระนั้นก็ต้องคอยระวังอย่าให้พวกคนจีนรวมตัวกันก่อความเดือดร้อนได้

ถ้าหากราษฎรจะฟ้องร้องคดีความกันให้พระยาวิเสศฤาไชยกับพระธรรมนูญเป็นผู้ตรวจคำฟ้อง แล้วส่งให้ฝ่ายตุลาการประทับคำฟ้อง แล้วพิจารณาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย

การซื้อขาย หรือสูบฝิ่น ให้อยู่เฉพาะคนจีนเท่านั้น อย่าให้คนไทย ลาว เขมร เข้ามายุ่งเกี่ยวได้ ซึ่งมีการกล่าวไว้แล้วในพระราชบัญญัติ

ให้พระยาวิเสศฤาไชย ดูแลบ้านเมืองอย่าให้เกิดโจรผู้ร้าย ลักขโมย ช้าง ม้า โค กระบือ และทรัพย์สิน เงินทองต่างๆรวมทั้งอย่าให้เกิดการกระทำผิดพระราชกำหนดกฎหมายได้

เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษสมุหนายก อัครมหาเสนาธิบดีพิริยบรากรมพาหุ พระเกรียงไกรกระบวนยุท พระกำพุชภักดีปลัด หลวบริยพิทักษ์ยกกระบัตร หลวงวิสูทจีนศ(ท)ติจางวางจีนใหญ่ กรมการเมืองฉะเชิงเทราด้วย ท่านเจ้าพระยาภูทราภัย,ที่สมุหนายก กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ตามที่ได้โปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งพระพนมสารณรินทร์เป็นพระยาวิเสศฤาไชยแล้ว ทำให้ตำแหน่งเจ้าเมืองพนมสารคามว่างอยู่จึงขอเสนอชื่ือหลวงธรนินทร์ภักดีปลัดเมืองพนมสารคาม ที่เคยรับราชการร่วมกับพระพนมสารณรินทร์(ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นพระยาวิเสศฤาไชยเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา)ให้มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองพนมสารคามคนใหม่

หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม แต่งตั้งให้หลวงธรนินทร์ภักดี ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองพนมสารคาม พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯพระราชทานนามสัญญาบัตรประทับพระราชลัญจกรณ์ ตั้งหลวงธรนินทร์ภักดีเป็นพระพนมสารณริทร์ผู้ว่าราชการเมืองขึ้นของเมืองฉะเชิงเทรา(เมืองพนมสารคาม) ให้ถือศักดินา 600 ไร่ พระราชทานถาดเงิน คนโทเงิน การไหล่ทอง 1 สำรับ,เสื้อเข็มขาบริ้วขอ 1 ตัว,ผ้าแพรสรีติดขลิบ 1 ผืน,ผ้าส่านวิส่านวิลาศ 1 ผืน,ผ้าแพรขาวห่ม 1 ผืน,ผ้าม่วงจีน 1 ผืนไว้เป็นเครื่องแสดงยศฐาบรรดาศักดิ์

การบริหารบ้านเมืองนั้นให้พระพนมสารณรินทร์เจ้าเมืองพนมสารคาม ฟังคำบังคับบัญชาของพระยาวิเสศฤาไชยเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา และให้หลวงปลัดกรมการในเมืองพนมสารคามฟังคำบังคับบัญชาของพระพนมสารณรินทร์ พร้อมทั้งช่วยกันดูแลบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อย หากราษฎรคนไทย ลาว เขมร ในแขวงเมืองพนมสารคาม จะฟ้องร้องคดีความเล็กๆทั้งแพ่งและอาญา ก็ให้พระพนมสารณรินทร์ประทับคำฟ้องส่งฝ่ายตุลาการเองได้ แต่ถ้าหากตกลงกันไม่ได้หรือเป็นคดีความใหญ่แล้ว ก็ให้สอบสวนคดีความก่อน แล้วจึงส่งตัวโจทก์และจำเลยพร้อมกับคำฟ้องมาให้พระยาวิเสศฤาไชยชำระคดีความต่อที่เมืองฉะเชิงเทรา

อีกทั้งให้พระพนมสารณรินทร์ปรึกาาหารือกับพระยาวิเสศฤาไชย จัดการศักเลขหมู่ชาวพนมสารคามที่เคยหลบหนีไป มาไว้เป็นหมวดเป็นกองให้เรียบร้อย ส่วนใครคนใดยังไม่ได้ศักเลขก็ให้นายหมวดนายกองส่งตัวเข้ามาที่กรุงเทพมหานคร

ในเรื่องการจัดเก็บภาษีซื้อขาย หรือสูบฝิ่นก็ให้เป็นเรื่องของชาวจีน อย่าให้คนไทย ลาว เขมร ชื้อขายหรือสูบฝิ่นโดยเด็ดขาด ตามที่ประกาศไว้ในพระราชบัญญัติ และดูแลราษฎรอย่าให้ไปเป็นโจรผู้ร้ายได้

ถ้ามาถึงเทศกาลพิธีตรุษสารท ก็ให้พระพนมสารณรินทร์ พร้องกับพระยาวิเสศฤาไชย และข้าราชการระดับต่างๆ ทำพิธีถวายบังคมกระทำสัตยานุัจถวายต่ิอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และรับพระราชทานน้ำพิพัฒน์สัตยาปีละ 2 ครั้งตามธรรมเนียมประเพณีทุกปี

สารตรา มา ณ วันเสาร์(7)แรม 3 คำ่(3)เดือนกรกฎาคม(8)ปีมะเส็งเอกศก ศักราช 1231

เจ้าพระยาจักรีสรีองครักษสมุหนายก อัครมหาเสนาธิบดีอภัยพิริยบรากรมพาหุ พระยาวิเสศฤาไชยกรมการเมืองฉะเชิงเทรา พระยาราชสุภาวดีจางวาง พระยาประมวรประมาณพลกรมพระสัศดี กราบเรียนท่านสำเร็จราชการแผ่นดินว่า เลขในกรมหมื่นมเหสวรศริววิลาศ กรมหมื่นวิศนุนารถนิภาธรวึ่งสิ้นพระชนม์ไปนั้น ว่ามีอยู่จำนวนเท่าใด วึ่งโปรรดเกล้าฯให้แปลงมาเป็นไพร่หลวงทั้งหมด

ในขณะนี้เจ้ากรมปลัดกรมสมุบาญชีได้มาเร่งให้ดำเนินการเรื่องเลขและแสดงบัญชีเลขของกรมหมื่นมเหสวรสริววิลาศว่ามีเลขที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในแขวงเมืองฉะเชิงเทราทั้งหมด 21 คน แต่ยังมีพวกที่หลบหนีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้แต่งตั้งให้นายภร (พร)จางวาง กรมพระตำรวจในกรม เชิยตราและบัยชีเลข มาช่วยพระยาวิเสศฤาไชยชำระ โดยในการชำระนั้นถ้าหากมั่นใจว่าใครเป็นข้าของกรมหมื่นมเหสวรศริววิลาศอย่างแน่นอนแล้ว ก็ให้คุมตัวส่งเลขให้กรมพระสัส(ศ)ดีแปลงเป็นไพร่หลวงเพื่อไว้ใช้งานราชการสืบไป อีกทั้งยังให้พระยาวิเสศฤาไชยกับนายภร(พร)จางวางอย่าได้อย่าได้เอาเลขของกรมเมืองกรมการหรือเลขที่มีสังกัดอื่นแล้วมาลงในบัญชีนี้ และถ้าหากชำระเลขเสร็จแล้วได้จำนวนเท่าใด ก็ให้ส่งจำนวนกับนายภร(พร)จางวางเท่านั้น

สารตรา มา ณ วันพฤหัสบดี(5) แรม 8 คำ่ เดือนกรกฎาคม (8)ปีมะเส็งเอกศก สักราช 1231

สารตรา เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษสมุหนายก อัครมหาเสนาธิบดีอภัยพิริยบรากรมพาหุ พระยาวิเสศฤาไชยกรมการเมืองฉะเชิงเทรา ได้แจ้งเข้ามาว่า หลวงสำแดงเดชา เจ้ากรมทหารปืนใหย่เมืองฉะเชิงเทรา มีอายุ 84 ปีแล้วเห็นจะชราและพูดจาไม่รู้เรื่องแล้ว จึงขอให้ออกจากตำแหน่ง แล้วให้ขุนราชรณรบปลัดกรมที่เคยทำราชการมากับหลวงสำแดงเดชา และมีคุณสมบัติพอที่จะดำรงตำแหน่ง เป็นหลวงสำแดงเดชาได้ จึงขอรับพระราชทานให้ขุนราชรณรบปลัดเป็นหลวงสำแดงเดชาเจ้ากรมทหารปืนใหญ่ประจำเมืองฉะเชิงเทราคนใหม่

อีกทั้งเมืองฉะเชิงเทราเป็นเมืองใกล้ปากน้ำ ชายทะเล จึงต้องมีการตั้งด่านตรวจตรา พวกโจรสลัด พวกชาวจีนที่รวมตัวกันเป็นกองโจร ดังนั้นหลวงสำแดงเดชาซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ตรวจตราปืนใหญ่ในเมืองฉะเชิงเทราจะต้องดูแลปืนใหญ่ให้อยู่ในสภาพดี หากกระบอกไหนชำรุดก็ให้ส่งซ่อมแซม

นอกจากนี้ให้ขุนราชรณรบปลัดซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหลวงสำแดงเดชานั้น ให้อยู่ใต้บังคับบัญชาของพระยาวิเสศฤาไชย พระเกรียงไกรกระบวนยุท พระกำพุชภักดีปลัดกรมการอย่างแต่ก่อน และให้ขุนหมื่นนายหมวดไพร่ในกรมการทหารรักาาปืนใหญ่ฟังคำบังคับบัญชาของหลวงสำแดงเดชา หากแต่จำนวนขุนหมื่น เลข ไพร่ ของกองรักษาปืนใหญ่ในปัจุบันมีอยู่จำนวนน้อยมาก ถ้ามีภัยอันใดเข้ามาจะเกณฑ์ไพร่พลไม่ทัน ดังนั้นจึงให้พระยาวิเสศฤาไชยสั่งให้หลวงสำแดงเดชาเกลี้ยกล่อมเลข ไพร่พล ที่ไม่มีสังกัดมูลนาย มาศักเข้าไว้ในกองไพร่หลวงของกรมการรักษาปืนใหญ่ให้ได้จำนวนมาก

ถ้าถึงเทศกาลพระราชพิธีตรุษสารท ก็ให้หลวงสำแดงเดชาขุนหมื่นสาร(ษาระ)วัตร ไปพร้อมกัพระยาวิเสศฤาไชย กรมการอุโบสถ พระวิหารกระทำสัตยานุสัจ รับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัตยาปีละ 2 ครั้ง ตามธรรมเนียมทุกปี

หากท้องตรานี้มาถึงวันใด ก็ให้พระยาวิเสศฤาไชยกรมการบังคับให้หลวงสำแดงเดชาคนเก่า มอบขุนหมื่นไพร่ บััญชีปืนใหญ่ทั้เก่าและใหม่ แด่ขุนราชรณรบผู้เป็นหลวงสำแดงเดชาคนใหม่ แล้วให้ประทานต้นตราตั้งนี้กับหลวงสำแดงเดชาเจ้ากรมรับราชการสืบต่อไป

ด้วยตำแหน่งปลัดที่ว่างอยู่นั้น ขุนหมื่นคนใดมีความเหมาะสมจะดำรงตำแหน่งเป็นปลัดก็ให้มีใบบอกแจ้งเข้ามาที่กรุงเทพมหานคร จะได้แต่งตั้้งออกมาให้ในภายหลัง

สารตรา มา ณ วันจันทร์(2)แรม 11 คำ่(11)เดือนพฤศจิกายน(11)ปีมะเส็งเอกศก ศักราช 1231

เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษสมุหนายก อัครมหาเสนาธิบดีอภัยพิริยบรากรมพาหุ พระเกรียงไกรกระบวนยุทพระกำพุชภักดีปลัด หลวงบริยพิทักษ์ยกกระบัตร หลวงวิสูทจีนศ(ท)ติ ด้วยได้มีใบบอกให้หลวงจ่าเมือง ขุนสมานจีนประชาเข้ากรุงเทพมหานคร ในวันอาทิตย์(1)แรม 1 คำ่(1) เดือนธันวาคม(1)ปีมะเส็งเอกศก ซึ่งในใบบอกนั้นมีความว่า อ้ายจีนตั้วม้วยแอบอ้างว่าฯพณฯผู้สำเร็จราชการแผ่นดินให้สิทธิแก่อ้ายจีนตั้วม้วยเป็นเถ้าแก่ใหญ่ ทำให้ชาวจีนในเมืองฉะเชิงเทรารวมตัวเป็นกองโจรขึ้นมา

ในวันอังคาร(3)ขึ้น 11คำ่(11)เดือนมกราคม(1)ปีมะเส็งเอกศกอ้ายจีนตั้วม้วยจีนหลงจู๊จ๊อยจีนแต๊กจีนเชียงเดินทางมาที่ศาลากลาง พระยาวิเสศฤาไชย พระเกรียงไกรกระบวนยุท พระกำพุชภักดีปลัด สามารถจับกุมพวกจีนที่คิดไม่ซื่อนี้ โดยที่ไม่เสียกระสุนดินดำหรือไพร่พลเลย ถือว่ามีความดีความชอบต่อบ้านเมืองอย่างมาก ส่วนอ้ายจีนตั้วม้วยทำผิดคิดแอบอ้างชื่อฯพณฯผู้สำเร็จราชการ เกลี้ยกล่อมชาวจีนให้อยู่ในบังคับบัญชา ถือเป็นความผิดร้ายแรง จึงต้องทำโทษอ้ายจีนตั้วม้วยที่เมืองฉะเชิงเทรา พวกชาวจีนจะได้เกิดความเกรงกลัวจะได้ไม่กระทำผิดอีกจึงได้โปรดเกล้าฯให้ท่านเจ้าพระยาภูธราภัย,ที่สมุหนายก เป็นผู้กำหนดบทลงโทษกลุ่มชาวจีนที่กระทำผิด โดยท่านเจ้าพระยาภูธราภัย,ที่สมุหนายก มีกำหนดลงเรือกลไฟออกจากกรุงเทพมหานคร ในวันแรม 11 คำ่ (11)เดือนมกราคม(11)ปีมะเส็งเอกศก

นอกจากนั้นยังให้พระยาวิเสศฤาไชย พระเกียงไกรกระบวนยุท พระกำพุภักดีปลัด หลวงบริยพิทักษ์ยกกระบัตร หลวงวิสูทจีนศ(ท)ติควบคุมตัวอ้ายจีนตั้วม้วยให้ดี อย่าให้พวกแย่งชิงตัวไปได้ และจากที่ขอปืนดาบศิลาไป 70 กระบอก นั้น ก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานจัดปืนดาบศิลา 70 กระบอก ศิลาปากนก 350 ปาก

กระสุน 7,000กระสุน มอบให้แก่หลวงพรหมสุพา คุมออกมาให้พระยาวิเสศฤาไชยรับไปใช้เพื่อรักษาบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อย

สารตรา วันพุธ(4)แรม4คำ่(4)เดือนธันวาคม(1)ปีมะเส็งเอกศก สักราช 1231

ในจดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิราช เจ้าฟ้าหมาวชิรุณทิศ สยามบรมราชกุมาร ได้กล่าวถึงเมืองพนมสารคามได้เข้ามาทูลเกล้าฯถวายต้นไม้ทอง ณ วันพฤหัสบดีที่ 6กันยายน พ.ศ.2426 ซึ่งในจดหมายเหตุได้ระบุว่า เมืองประเทศราชนั้นเมื่อครบกำหนดจะต้องส่งบรรณาการเข้ามายังราชธารีซึ่งเครื่องบรรณาการนี้จะต้องมีต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นสำคัญ

ในจดหมายเหตุเรื่อง ตั้งบ้านท่าถ่าน ปี จุลศักราช 1221 และสำเนาสัญยาบัตรตรตั้ง เจ้าเมืองพนมสารคาม ปีจุลศักราช 1231 พบว่า เจ้าเมืองพนมสารคามมีศักดินานั้นย่อมแสดงให้เห็นว่าสถานะของเมืองพนมสารคามนั้นมิใช่เป็นประเทศราช เพราะเจ้าประเทศราชจะไม่มีศักดินา แต่สาเหตุใดที่เมืองพนมสารคามซึ่งอยู่ใกล้กรุงเทพและมิได้เป็นประเทศราช ต้องมีการถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง สัณนิษฐานว่าเพราะเจ้าเมืองพนมสารคามและกรมการเมืองเป็นคนลาว ซึ่งถือว่าเป็นคนต่างด้าว

1.จดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุฌทิศ(กรุงเทพน:โรงพิมพ์พระจันทร์,2499),หน้า 20,ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์พระราชทานเป็นที่ระลึก ในงานพระบรมศพ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2499

2.ตั้งส้วยทอง ร.4ตั้งบ้านท่าถ่านเป็นเมืองพนมสารคาม ปี จุลศักราช 1221 เลขที่ 137 สมุดไทยคำเส้นดินสอ;การแต่งตั้งขุนนางไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 (กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร,2521),หน้า 14

3.ดูรายละเอียดใน เรื่องทรงตั้งเจ้าประเทศราชกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 พระนคร;โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี,2514 และ การแต่งตั้งขุนางไทยในสมัยรัชกาลที่ 5

4.ตั้งส่วยทอง ร.4 ตั้งบ้านท่าถ่านเป็นเมืองพนมสารคาม ปีื จุลศักราช 1221 เลขที่ 137สมุดไทยคำเส้นดินสอ; การแต่งตั้งขุนนางไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ,หน้า 24