รู้เขา รู้เรา รู้โลก รู้โศก รู้สุข ไม่สิ้นหวัง เพราะอ่านได้อ่านดีมีพลัง ห้องสมุดคือขุมคลังของชีวิต สุจิตต์ วงษ์เทศ
 
รายการหลัก
 
 
MENU LINK :
 
 
 
จำนวนผู้เยี่ยมชม
Website Hit Counter

 

 

 

บทความประกอบการอ่าน โครงการรักการอ่าน

บันทึกอาเซียน

                  ในการประชุมวิชาการโภชนวิทยา ครั้งที่ 12 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ จัดโดยชมรม
โภชนวิทยามหิดล และ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดสามวันของการประชุมภายใต้หัวข้อเรื่อง“อาหารและโภชนาการ ก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน” (Food & Nutrition: Moving Towards the ASEAN Community) มีการเสนอผลงานวิชาการในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาหารในประเทศไทยและอาเซียนอีกเก้าประเทศโดยคณาจารย์นักวิจัย นำเสนอต่อสมาชิกชมรมฯกว่า 200 คน
ในบทความหนึ่งของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ มีการอธิบายถึงสถานการณ์ทั่วๆไปในอาเซียนด้านอาหารซึ่งพบว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีผลต่อรูปแบบการบริโภคของพลเมืองอาเซียนมากขึ้น ในประเทศที่เศรษฐกิจดีกว่า ชีวิตเร่งรีบ และมีอาหารแปลกใหม่เข้ามาจากต่างประเทศมากขึ้น ประชาชนที่มีฐานะดีจึงนิยมรับประทานอาหารสำเร็จรูปและอาหารนำเข้าจากต่างประเทศมากขึ้น ส่วนในประเทศที่ฐานะทางเศรษฐกิจยังไม่ดีนักประชาชนก็ยึดการกินอยู่อย่างพอเพียง รับประทานอาหารท้องถิ่นในราคาเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม หากจะดูเฉพาะอาหารประจำชาติหรืออาหารท้องถิ่น แต่ละประเทศในอาเซียนต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของตนเอง ทั้งรูปแบบและรสชาติ แม้กระนั้นก็ยังคงพบว่ามีอาหารหลายประเภทที่มีความคล้ายกันอันจะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในอาเซียน ดังตัวอย่างต่อไปนี้:
บรูไน : “อัมบูยัต” (Ambuyat) ลักษณะคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก มีส่วนผสมของแป้งสาคู ใช้
รับประทานแทนข้าว มีกับข้าวหลักหนึ่งอย่างและเครื่องเคียงอีกอย่างน้อยสามอย่าง
กัมพูชา :“อาม็อก” (Amok) คล้ายห่อหมก ส่วนผสมมีปลา น้ำพริก กะทิ กินกับเครื่องเคียง
อินโดนีเซีย : “กาโด กาโด” (Gado Gado) เหมือนกับสลัดแขก มีถั่วเขียว ถั่วงอก เต้าหู้ มันฝรั่ง
ไข่ต้ม กระหล่ำปลี ข้าวเกรียบกุ้ง และมีซ๊อสถั่วคล้ายกับที่กินกับหมู-เนื้อสะเต๊ะ
ลาว : “ซุปไก่” (Chicken Soup) ปรุงด้วยตะไคร้ สะระแหน่ กระเทียม หอมแดง
มาเลเซีย :  “นาซิ เลอมัก” (Nasi Lemak) คือข้าวผัดกะทิเข้าสมุนไพร เสิร์ฟพร้อมปลากะตักทอด
แตงกวาหั่น ไข่ต้ม ถั่วอบ ทั้งหมดห่อด้วยใบตอง รับประทานเป็นอาหารเช้า
พม่า : “หล่าเพ็ด” (Lahpet) คล้ายเมี่ยง รับประทานกับเครื่องเคียง เช่น ใบชาหมัก กระเทียมเจียว ถั่ว
 งา กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว
ฟิลิปปินส์ : “อโดโบ” (Adobo) ทำด้วยไก่หรือหมูหมักปรุงรสผสมเครื่องเทศต่างๆมีพริกไทยดำ
กระเทียม กระวาน ทอดหรืออบสุกแล้วรับประทานกับข้าว
สิงคโปร์ : “ลักสา” (Laksa) ลักษณะเป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำใส่กะทิ คล้ายข้าวซอย เส้นก๋วยเตี๋ยวมีขนาด
ใหญ่กว่าเส้นหมี่เล็กน้อย
เวียดนาม : เปาะเปี๊ยะ (Nem) ดังที่เป็นที่คุ้นเคยดีในหมู่คนไทย
ไทย : “ต้มยำกุ้ง” (Tom Tam Kung) กลายเป็นอาหารประจำชาติของไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก
นอกเหนือจากอาหารไทยอื่นๆอีกมากมาย
อาหารในอาเซียนโดยรวมใช้สมุนไพรปรุงรสมากหลากหลายเป็นเอกลักษณ์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลจากจีนและวัฒนธรรมอิสลามแทรกซึมทุกหนแห่งเป็นส่วนหนึ่งของโภชนวิถีในอาเซียน แต่ในปัจจุบันชาวอาเซียนก็กำลังเผชิญกับปัญหาโลกาภิวัตน์ทางอาหารเช่นเดียวกับที่อื่นๆในโลก อาหารจานด่วนคุณภาพต่ำ ขาดธาตุอาหารที่จำเป็น เป็น “อาหารขยะ” หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “junk food” กำลังมีส่วนทำลายสุขภาพชาวอาเซียนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจดีกว่า หรือในหมู่ผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่า
เรื่องอาหารถือเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน ในเชิงวัฒนธรรมอาเซียนมีความงดงามหลากหลายและแพรวพราวในการประกอบอาหารหวานคาวสารพัด เป็นเสน่ห์สำคัญของอาเซียน คุณภาพทางโภชนาการของอาหารพื้นเมืองนั้นสมบูรณ์ด้วยสารอาหารและไวตามินตลอดจนคุณสมบัติทางโภชนาการอื่นๆ โดยเฉาะคุณสมบัติทางยาเมื่ออาหารประเภทนั้นๆเข้าสมุนไพร แต่เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์พัดเข้าสู่อาเซียน อาหารเสร็จเร็ว หรือ “Fast Food” ซึ่งมากไปด้วยแป้ง เกลือ และน้ำตาล และสารผสมที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ก็เข้ามามีอิทธิพลต่อสุขภาพของชาวอาเซียนมากขึ้น
อาเซียนมีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องอาหารสามเรื่องหลัก คือ:
1. ความมั่นคงและปลอดภัยเรื่องอาหาร (Food Security and Food Safety) เพื่อให้ชาวอาเซียนไม่ขาดแคลนข้าวปลาอาหารในยามวิกฤติ ประเทศในอาเซียนจึงร่วมมือกันผลิตและเก็บสำรองอาหาร โดยเฉพาะข้าว เพื่อเอาไว้ช่วยเหลือกันในยามฉุกเฉิน ยามเกิดภิบัติภัยต่างๆ และในยามภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ขณะเดียวกันอาเซียนก็มีมาตรการทำให้มั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารทั้งที่เป็นวัตถุดิบและอาหารสำเร็จรูป
2. การมีสุขภาวะและวิถีการดำเนินชีวิตที่ดี (Healthy Lifestyle) อาเซียนมีโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างรัฐสมาชิกในเรื่องการผลิตอาหาร การปรุงอาหาร ถนอมอาหาร ฯลฯ ทั้งหมดจะนำไปสู่การกินอยู่เพื่อสุขภาพที่ดี มากกว่าการกินอยู่อย่างฟุ่มเฟือยและไม่ถูกหลักโภชนาการ
3. การสร้างสรรค์อาหารให้มีบทบาทสร้างเศรษฐกิจด้วย (Creative Industry) ทำให้อาหารเป็นธุรกิจและอุตสาหกรรมสำคัญของอาเซียน เพื่อการส่งออกทั้งในรูปแบบสินค้าและวัฒนธรรม

โดยสมเกียรติ อ่อนวิมล ตอน อาหารอาเซียน http:dailynews.co.th/article/วันพุธที่ 23 พฤษภาคม  2555 

กลับหน้าหลัก