ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นพนมสารคาม

   สุจิตต์ วงษ์เทศ

  5,000 ปีมาแล้ว พนมสารคามบางส่วนเป็นท้องทะเล
  4,000 ปีมาแล้ว มีคนตั้งชุมชนใกล้เคียงพนมสารคาม
  3,000 ปีมาแล้ว พนมสารคามยังไม่มีชุมชน
  หลัง พ.ศ. 1 พนมสารคามเป็นส่วนหนึ่งของ "สุวรรณภูมิ"
  หลัง พ.ศ. 500 พุทธ-พราหมณ์มาถึงสุวรรณภูมิแต่ยังไม่พบที่พนมสารคาม
  หลัง พ.ศ. 1000 แรกมีชุมชนบ้านเมืองที่พนมสารคาม
  หลัง พ.ศ. 1500 พนมสารคามเกี่ยวข้องกับขอมและการค้าโลก
  หลัง พ.ศ. 1700 พนมสารคามร่วงโรยแล้วรกร้าง
  พ.ศ. 2309 พระเจ้าตาก ผ่่านป่าดงพนมสารคาม
  พ.ศ. 2369 กวาดต้อน "ลาว" มาอยู่พนมสารคาม
  คนจีนในพนมสารคาม
  คนไทยในพนมสารคาม
  อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
มาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของเรากันเถอะ

3.   3,000 ปีมาแล้ว พนมสารคามยังไม่มีชุมชน

              3,000  ปีมาแล้ว พนมสารคามยังไม่มีชุมชนคนตั้งหลักแหล่ง แต่ควรมีคนมากบริเวณใกล้เคียง เคลื่อนย้ายไปมาผ่านทางชายทะเลพนมสารคาม เช่น มีคนจากชุมชนใหญ่ทางโคกพนมดี (พนัสนิคม ชลบุรี) ชุมชนทางเขาฉกรรจ์ (วังน้ำเย็น สระแก้ว)

            3,000 ปีมาแล้ว มีคนจากภายนอกเคลื่อนย้ายเข้ามาทุกทิศทางทั้งทางบกและทางทะเล เช่น ทางเหนือ แถบยูนนาน, ทางตะวันออก แถบกวางตุ้ง-กวางสี-เวียดนาม, ทางตะวันตก แถบอ่าวเบงกอลทะเลอันดามัน, ทางใต้ แถบชวา-มลายู ทำให้บริเวณภาคกลางมีผู้คนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ตั้งหลักแหล่งประสมประสานอยู่ด้วยกันมากกว่าเดิม แล้วกระจัดกระจายไปทั่วประเทศ แต่หนาแน่นมากสุดอยู่ทางอีสานสองฝั่งโขง

            กลองทองหรือมโหระทึุกหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นสัญลักษณ์ร่วมของคนยุคนี้ มีพบทั่วไป แต่มีศูนย์กลางการผลิตที่ยูนนาน - กวางสี - เวียดนาม (ต่อไปข้างหน้าคือ ฆ้อง, ระฆัง)

            แหล่งสำคัญของยุคนี้อยู่ที่บ้านตอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ต่อเนื่องถึงเมืองจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งลุ่มน้ำป่าสัก จังหวัดลพบุรี กับบริเวณเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

             ยุคนี้มี "ภาษาร่วม" ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันที่เป็นรากเหง้าภาษาตระกูลมัง - เย้า, มอญ-เขมร, ชวา-มลาูยู และไทย - ลาว (ภาษาไทยเริ่มมีหลักฐานในยุคนี้)

 

แผนที่แสดงชุมชนหมู่บ้าน บางแห่งที่สำคัญ เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ใน(สยาม)ประเทศไทย