9. พ.ศ. 2309 พระเจ้าตาก ผ่านป่าดงพนมสารคาม
พนมสารคาม ร่วงโรยแล้วรกร้างเป็นป่าดงพงพีนานหลายร้อยปี ตั้งแต่ก่อนกรุงศรีอยุธยา จนกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งสุดท้าย เป็นเขตติดต่อกับบริเวณที่เรียกกันทั่วไปว่าดง ศรีมหาโพธิ์ (ปราจีนบุรี) ไม่มีบ้านเมือง มีแต่ชุมชนเล็ก ๆ เป็น ซ่องแหล่งหลบซ่อนของโจรผู้ร้าย
ก่นกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากพาไพร่พลคนสนิทตีฝ่ากองทัพพม่าที่ล้อมกรุงมุ่งทางชายทะเลตะวันออก ผ่านดงศรีมหาโพธิ์ และป่าดงเขตพนมสารคามไปชลบุรี ระยอง จันทบุรี
เส้นทางพระเจ้าตากหนี
วันเสาร์ ตอนเที่ยงคืน ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ อัฐศก จุลศักราช 1128 หรือ พ.ศ. 2309 เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในพระนคร ไหม้ตั้งแต่ท่าทรายติดลามมาถึงสะพานช้างวงคลองข้าวเปลือก แล้วข้ามมาติดป่ามะพร้าม ป่าโทน ป่าถ่าน ป่าทอง ป่ายา วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดฉันทันต์ ติดกุฎีวิหารและบ้านเรือนมากกว่าหมื่อนหลัง
ไฟไหม้ในพระนาครยังไม่ดับ พระยาตากก็ยกสมัครพรรคพวกไพร่พลไทยจีนออกจากค่ายวัดพิชัยเดินทับไปทางบ้านหันตรา
พม่ายกพลติดตามทัน ได้ต่อรบกันเป็นสามารถ พม่าต่อต้านมิได้ก็ถอยกลับไป
พระยาตากเดินทัพต่อไปทางบ้านข้าวเม่า จนถึงบ้านสมมบัณฑิต เวลาสองยามเศษ เมื่อมองกลับไปเห็นแสงไฟรุ่งโรจน์โชตนาการยังไหม้กรุงอยู่ ก็ให้หยุดพักทัพ วันอาทิตย์ รุ่งเช้า พระยาตากเดินทัพไปถึงบ้านโพสามหาว หรือโพสาวหาญ หรือโพสังหาร
พม่ายกพลติดตามไปอีก ได้ต่อรบกันเป็นสามารถ ทัพพม่าแตกกระจัดกระจายพ่ายแพ้ไป
พระยาตากให้เดินทัพต่อไป ตอนเย็นถึงบ้านพรานนก หยุดพักแรม ให้ทแกล้วทหารออกไปลาดเลี้ยวเที่ยวหาอาหาร พบกองทัพพม่ายกมาจากบางคาง (ปราจีนเก่า) พม่าไล่ติดตามมา พระยาตากจึงขึ้นม้าพร้อมไพร่พลออกรบพม่าก่อน กองทัพพม่าแตกพ่ายกระจ่ายไป
ทแกล้วทหารเห็นกำลังบุญฤทธิ์พระยาตากเป็นอัศจรรย์ก็ยกย่องว่าเป็น "จอมกษัตริย์สมมุติวงศ์" เท่ากับแสดงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นพระมหากษัตริย์
รุ้งขึ้นขุนชำนาญไพรสณฑ์และนายกองช้างเมืองนครนายกมีจิตสวามิภักดิ์ เอาช้างมาถวาย 6 ช้างนำเสด็จถึงบ้านบางดง เช้าหยุดประทับในที่นั้น แล้วสั่งให้ขุนหมื่นพันทนายบ้านยอมอ่อนน้อม แต่ไม่สำเร็จ กลับท้าทายอีก แล้วตั้งค่ายจะสู้รบ

แผนที่เส้นทางเดินทัพของของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งแต่ออกจากกรุงศรีอยุธยา ไปรวบรวมกำลังพลที่จันทบุรี และยกกลับมารบกับพม่าอีกครั้ง (จากหนังสือ การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ สำนักพิมพ์มติชน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 8 มีนาคม 2548) |
รุ่งขึ้น พระเจ้าตารกยกเข้าตีค่ายได้ช้าง 7 ช้าง
พระเจ้าตากยกพลไปประทับที่ ตำบลหนองไม้ซุง ตามทางเมืองนครนายก แล้วประทับรอนแรมไปอีก 2 วันก็ถึงบ้านนาเริ่ง
ออกจากบ้านนาเริ่งวันหนึ่งถึงเมืองปราจีนบุรี ข้ามแม่น้ำที่ด่านกบ (แจะ) (ประจันตคาม ปราจีนบุรี) ให้พักรี้พลหุงอาหารกินเสร็จแล้วเดินทัพข้ามทุ่งไปจนตกเย็น หยุดพักทัพรอสมัครพรรคพวกที่ตามไม่ทันอยู่ 3 วัน (เอกสารบางเล่มบอกว่าอยู่ชายดง ศรีมหาโพธิ์)
ฝ่ายพม่าเกณฑ์ทัพเรือให้ขึ้นมาสมทบกับทัพบกตั้งอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ (โจ้โล้) ยกไปขึ้นที่ท่าข้าม ติดตามกองทัพพระเจ้าตาก ได้รบกันหนักจนพม่าแตกกระจัดกระจายพ่ายไป
จากนั้นพระเจ้าตากยกพลนิกายไปทางบ้านทองหลวง บ้านสะพานทอง (อำเภอพานทอง) บางปลาสร้อย ก็เป็นอันพ้นกองทัพพม่า
กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310
แต่ก่อนหน้านั้นราว 3 เดือนกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อยังเป็นพระยาตาก ได้พาสมัครพรรคพวกไพร่พลไทย-จีนจำนวนหนึ่ง ตีฝ่ากองทัพพม่ามุ่งหน้าไปทางชายทะเลตะวันออก
พระยาตากไม่ใช่ทั้งคนแรกและคนสุดท้าย ที่ได้ละทิ้งหน้าที่หลบหนีไป เพราะระบบการเมืองและสังคมของราชอาณาจักรศรีอยุธยาได้ล่มสลายลงก่อนที่พม่าจะระเบิดป้อมทลายกำแพงแล้ว
แต่นานไม่ถึง 9 เดือนหลังจากเสียกรุง พระยาตากได้ประกาศพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ ที่คนทั่วไปเรียกกันภายหลังว่าพระเจ้าตาก ยกกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรีมายึดกรุงศรีอยุธยาคืน แล้วฟื้นฟูราชอาณาจักรศรีอยุธยาขึ้นมาใหม่ ชื่อกรุงธนบุรี
|